AEC วิเคราะห์จุดแข็งประเทศอินโดนีเซียPosted: March 7, 2013 in Uncategorized
0นับถอยหลังก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือที่หลายๆ คนคุ้นหูกันดี AEC นั่นเอง วันนี้เรามาทำความรู้จักกับหนึ่งใน 10 ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุด นั่นก็คือ Indonesia คนไทยชอบเรียนสั้นๆ ว่า “อินโด”

ประวัติศาสตร์อินโดนีเซีย
สมัยโบราณ

ในห้วงเวลาก่อนคริสตกาลประมาณ 3,000 – 5,000 ปี ได้มีชาวมาเลย์ ซึ่งเป็นเชื้อสายมองโกลอยด์จากจีนตอนใต้ ยูนาน และตังเกี๋ย อพยพเข้าไปในอินโดนิเซีย ชนพวกนี้ได้นำเอาวัฒนธรรมของยุคหินใหม่ ยุคบรอนซ์ รวมทั้งภาษาออสโตรนีเซีย เข้ามาในอินโดนิเซีย รวมตลอดถึงในฟิลิปปินส์ด้วย พวกเหล่านี้ได้เข้ามาอยู่อาศัย และแต่งงานกับชาวพื้นเมือง สอนให้ชาวพื้นเมืองรู้จักวิธีปลูกข้าว สร้างที่พักอาศัย และรู้ถึงวิธีการปั้นหม้อ และทอผ้า รวมทั้งการหาเลี้ยงชีพ และการผจญภัยในทะเล พวกเหล่านี้มีความสามารถในการเดินเรือ และสามารถแล่นเรือออกไปไกลถึงหมู่เกาะมาดากัสการ์ ทางทิศตะวันตก และเกาะอิเจียน โปลีนีเซียน ตลอดจนหมู่เกาะต่าง ๆ ทางทิศตะวันออก ต่อมาในระยะเวลาประมาณ 100 ปี ก่อนคริสตศักราชจนถึงต้นคริสตศักราช ได้มีการติดต่อค้าขายระหว่างพ่อค้า จากบริเวณจีนตอนใต้และหมู่เกาะอินโดนิเซีย

ในคริสตศตวรรษแรกได้มีชาวฮินดูจากอินเดียตะวันออกเฉียงใต้ อพยพเข้ามในอินโดนิเซีย และได้นำภาษาสันสกฤต และภาษาปัลวะ เข้ามาเผยแพร่ซึ่งต่อมาได้วิวัฒนาการเป็นภาษาชวาเก่า ชวาใหม่ และอักษรอินโดนิเซียอื่น ๆ การหลั่งไหลเข้ามาในอินโดนิเซียของชาวฮินดู ได้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องจนถึงคริสตศตวรรษที่ 7 ทำให้อิทธิพล และความเชื่อถือในลัทธิต่างๆ ได้ขยายวงกว้างออกไปโดยเฉพาะในหมู่ชนชั้นสูง ซึ่งในที่สุดได้ผสมผสานกลืนกลายเป็นวัฒนธรรมประจำชาติไป วัฒนธรรมส่วนใหญ่ที่ชาวอินโดนิเซียได้รับจากชาวฮินดู ได้แก่ สถาปัตยกรรมการปั้นรูป วรรณคดี ดนตรี นาฏศิลป์ และการเล่นพื้นเมือง ซึ่งยังคงมีอยู่ในบาหลี และลอมบอร์กตะวันตก

ระหว่างปี พ.ศ.643 – 743 พุทธศาสนาฝ่ายมหายาน และฝ่ายเถรวาท จากอินเดียได้เริ่มเผยแผ่เข้ามาในอินโดนิเซีย ในระยะแรก ๆ ยังไม่ได้รับความนิยมมากนัก จนมาถึงสมัยอาณาจักรศรีวิชัย พุทธศาสนาจึงได้รุ่งเรืองมากขึ้น ในปี พศ.1215 โดยมีศูนย์กลางที่เมืองปาเลมบัง ในเกาะสุมาตรา และชวาตอนกลาง และเริ่มเสื่อมลงเมื่อสิ้นสุดอิทธิพลของ อาณาจักรศรีวิชัย นับแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ 13

ในปี พ.ศ.1389 ชาวอาหรับได้เดินทางมาถึงเกาะสุมาตรา เป็นครั้งแรกเป็นพวกพ่อค้า ต่อเนื่องมาจนถึงปี พ.ศ.1493 พวกพ่อค้าเหล่านี้ ได้นำเอาศาสนาอิสลามมาเผยแพร่ด้วย โดยที่ในระยะแรกได้ตั้งศูนย์กลางเผยแพร่ศาสนาขึ้นทางตอนเหนือของเกาะสุมาตรา จากนั้นจึงขยายออกไปทั่วประเทศ

สมัยอาณาจักรมอสเลม

เมื่ออาณาจักรฮินดูเริ่มตกต่ำลงระหว่างปี พ.ศ.2050 – 2063 อาณาจักรมอสเลมก็เริ่มรุ่งเรืองขึ้นในชวาตอนกลาง สุมาตรา สุลาเวสี กาลิมันตัน จนถึงอิเรียนตะวันตก และมีผลให้ภาษามาเลย์ซึ่งชาวมุสลิมบริเวณนี้ใช้อยู่ได้แพร่ขยายออกไปและกลายเป็นภาษาประจำชาติของอินโดนีเซียด้วย

ในระยะนั้น เมืองจาการ์ตายังเป็นเมืองท่าเล็ก ๆ บนเกาะชวา มีชื่อว่า ซุนดาเคลาปา ต่อมาเมืองนี้ได้ถูกนายพลฟามาเตอีนแห่งอาณาจักรเดมัดยึดได้ จึงให้เปลี่ยนชื่อเป็นจาการ์ตา ซึ่งมีความหมายถึงสถานที่แห่งชัยชนะ เพราะเป็นชัยชนะต่อชาวโปรตุเกส ต่อมาในปี พ.ศ.2164 ฮอลแลนด์ได้เข้ามายึดครองอินโดนีเซีย และได้เปลี่ยนชื่อเมืองนี้เป็นปัตตาเวีย

สมัยตกเป็นอาณานิคมของฮอลแลนด์ ฮอลแลนด์ได้ตั้งบริษัท United Dutch East India Company เมื่อปี พ.ศ.2145 เพื่อทำการค้า อยู่ที่หมู่เกาะอินเดียตะวันออก ซึ่งนอกจากทำการค้าแล้ว ยังทำหน้าที่แสวงหาอาณานิคมให้แก่ฮอลแลนด์ด้วย ในที่สุดได้ทำการยึดครองอินโดนีเซีย เมื่อปี พ.ศ.2164 และได้ขยายการปกครองออกไปทั่วประเทศ ทำให้อินโดนีเซียตกอยู่ในฐานะอาณานิคมของฮอลแลนด์

การทำสงครามต่อต้านฮอลแลนด์ได้เริ่มขึ้น เมื่อปี พ.ศ.2209 โดยสุลต่านฮานุดดินแห่งโกลา แต่ประสบความล้มเหลว และต้องเซ็นสัญญายอมแพ้ในปี พ.ศ.2310 ในปี พ.ศ.2233 – 2367 บริษัทได้ส่งทหารเข้าควบคุมหมู่เกาะโมลุกกัส (มาลูกู) เพื่อเข้าควบคุมการค้าเครื่องเทศ

ในระยะเวลาเดียวกันได้ปรากฏมีชาวอังกฤษเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เมืองเบวกูเลน บนฝั่งตะวันตกของเกาะสุมาตรา และได้มีการสร้างป้อมค่ายขึ้น ในระยะนี้ชาวอังกฤษยังไม่มีบทบาทมากนัก

ในปี พ.ศ.2283 ชาวจีนที่อาศัยอยู่ในจาการ์ตาได้ทำการต่อต้านชาวดัตช์ เนื่องจากไม่พอใจที่ถูกเอารัดเอาเปรียบทั้งในด้านเศรษฐกิจ และในด้านอื่น ๆ ชาวอินโดนีเซียได้เข้าร่วมในการต่อต้านครั้งนี้ด้วย แต่ไม่สามารถเอาชนะได้ เป็นผลให้ชาวจีนถูกชาวดัทช์สังหารมากกว่า 10,000 คน

การเข้าปกครองอังกฤษ ในระหว่างรัชสมัยของนโปเลียน ฝรั่งเศสได้เข้าครอบครองฮอลแลนด์ บริษัท British East Company จึงได้เข้าปกครองอินโดนีเซียแทน (พ.ศ.2358 – 2359) เมื่อนโปเลียนสิ้นอำนาจลงในปี พ.ศ.2358 อินโดนีเซียก็กลับไปเป็นอาณานิคมของฮอลแลนด์อีก

การปราบปรามของฉอลแลนด์ นับตั้งแต่อินโดนีเซียตกอยู่ภายใต้การปกครองของฮอลแลนด์ ชาวอินโดนีเซียได้ลุกขึ้นต่อต้านการปกครองของฮอลแลนด์หลายครั้ง แต่ไม่สามารถเอาชนะได้

การเคลื่อนไหวเพื่อกอบกู้เอกราช ได้มีการจัดตั้งสมาคม Budi Utom (ความบากบั่นอันสูงส่ง) ขึ้นในปี พ.ศ.2451 ได้ร่วมกันก่อตั้งพรรคการเมืองขึ้นหลายพรรค เพื่อเป็นข้อต่อรองในการเรียกร้องเอกราชจากฮอลแลนด์

ปี พ.ศ.2467 กลุ่มนักศึกษา ได้ตั้งสมาคมนักศึกษาอินโดนีเซีย โดยมี ดร.โมฮัมหมัดอัตตา เป็นหัวหน้า ต่อมาในปี พ.ศ.2470 ดร.โมฮัมหมัดอัตตา ได้จัดตั้งองค์การสหพันธ์ โดยยรวมพรรคการเมืองของอินโดนีเซียทั้งหมดเข้าด้วยกัน

ในปีเดียวกัน ดร.ซูการ์โน และบุคคลชั้นนำอีกหลายคนได้ร่วมกันจัดตั้งพรรคชาตินิยมอินโดนีเซียขึ้น และใช้ภาษาบาฮาซา อินโนีเซียเป็นภาษากลางในการติดต่อ ประสานงานสนับสนุนนโยบายที่จะไม่ให้ความร่วมมือใด ๆ แก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองของฮอลแลนด์ การเคลื่อนไหวดังกล่าวได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวางในกลุ่มเยาวชน และทำให้เกิดองค์การยุวชนขึ้นในท้องถิ่นต่าง ๆ

สมัยการยึดครองของญี่ปุ่น ในระหว่างสงครามมหาเอเซียบูรพา กองทัพญี่ปุ่นได้เข้ายึดครองอินโดนีเซียได้ระหว่างปี พ.ศ.2485 – 2487 กองทัพญี่ปุ่นพยายามเอาใจชาวอินโดนีเซียด้วยการปล่อยตัวผู้นำทางการเมืองที่ถูกทางการฮอนแลนด์คุมขังไว้

การประกาศอิสระภาพ เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามใน ปี พ.ศ.2488 ญี่ปุ่นได้เปิดโอกาสให้ชาวอินโดนีเซียในการนำของ ดร.ซูการณ์โน และ ดร.โมฮัมหมัด ฮัตตา ประกาศอิสระภาพของอินโดนีเซีย เมื่อปี พ.ศ.2488 พร้อมกับประกาศหลักการแห่งรัฐห้าประการ (ปัญจศีล) คือ

เชื่อมั่นในพระเจ้าสูงสุดเพียงองค์เดียว
มวลมนุษย์แห่งอารยะ
ชาตินิยม
ประชาธิปไตย
ความยุติธรรมของสังคม
อินโดนีเซียได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับแรก เมื่อปี พ.ศ.2488 และได้เลือกตั้ง ดร.ซูการ์โน เป็นประธานาธิบดี และ ดร.โมฮัมหมัด ฮัตตา เป็นรองประธานาธิบดี

หลังจากที่ได้ประกาศอิสระภาพได้ไม่นาน ฮอนแลนด์ก็ได้พยายามกลับเข้ายึดครองอินโดนีเซียอีก ทำให้เกิดการสู้รบอย่างรุนแรงบนเกาะสุมาตรา เมื่อ 10 พฤศจิกายน 2488 อินโดนีเซียจึงถือเอาวันดังกล่าวเป็นวันวีรบุรุษแห่งชาติ และมีการฉลองเป็นประจำทุกปี

จากเหตุการนองเลือดดังกล่าว ทำให้อินโดนีเซียประกาศใช้นโยบายสันติ และเป็นมิตรกับทุกประเทศ และแสวงหาการสนับสนุนจากอังกฤษ ได้ตกลงเซ็นสัญญา เมื่อปี พ.ศ.2490 โดยฮอนแลนด์ยอมรับรองอธิปไตยของอินโดนีเซียเหนือเกาะชวา มาดุรา และสุมาตรา แต่ฮอนแลนด์ไม่ยอมปฏิบัติตามสัญญา ได้ให้ทหารเข้ายึดครองอินโดนีเซีย และจับกุมประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีไปควบคุมตัวไว้

ในปี พ.ศ.2492 ประเทศในเอเซียรวม 19 ประเทศ ได้ร่วมประชุมกันที่กรุงนิวเดลฮี เพื่อเรียกร้องให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ บังคับให้ฮอลแลนด์ ปล่อยตัวนักโทษการเมือง ของอินโดนีเซียทั้งหมด และมอบอธิปไตยให้อินโดนีเซีย ภายในปี พ.ศ.2493 สหประชาชาติได้ตกลงให้มีการหยุดยิงในอินโดนีเซีย และให้ฮอลแลนด์ปล่อยตัวผู้นำทางการเมืองทั้งหมด กับจัดให้มีการประชุมขึ้นที่กรุงเฮก เนเธอร์แลนด์ ในปี พ.ศ.2492 จากการประชุมครั้งนี้ ทำให้อินโดนีเซีย ได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์ เมื่อ 27 ธันวาคม 2492 ยกเว้นเกาะอิเรียนตะวันตก ยังคงอยู่ในการปกครองของเนเธอร์แลนด์

สภาพทางสังคม

ชีวิตความเป็นอยู่ ฐานะความเป็นอยู่ของประชากรมีความแตกต่างกันมาก ส่วนใหญ่มีฐานะค่อนข้างยากจน หลังจากอินโดนีเซียได้ประกาศเอกราช เมื่อปี พ.ศ.2488 ก็ได้เริ่มพัฒนาประเทศในหลายด้าน โดยตั้งหน่วยงานของรัฐขึ้นหลายแห่ง มีหน่วยงานที่สำคัญคือ กระทรวงกิจการของสังคม

นอกจากหน่วยงานของรัฐแล้วยังมีองค์การ และสมาคมต่าง ๆ ที่พยายามเข้าช่วยเหลือแก้ปัญหาของสังคมอยู่เป็นจำนวนมาก โดยยึดหลักขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติ ระบบโกตองโรยองได้แก่ การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

อาชีพ

อาชีพหลักของประชาชนอินโดนีเซียได้แก่

การเพาะปลูก ผลิตผลที่สำคัญทำรายได้ให้กับประเทศได้แก่ข้าว มันสำปะหลัง ข้าวโพด มันเทศ ยาง มะพร้าวและน้ำตาล
การทำป่าไม้ อินโดนีเซียมีพื้นที่ป่าประมาณ 114 ล้านเฮกตาร์ และนโยบายของรัฐบาลสนับสนุนอุตสาหกรรมผลิตไม้แปรรูป จึงเป็นอาชีพสำคัญอาชีพหนึ่งของประชาชน
การประมง แม้อินโดนีเซียจะเป็นเกาะ แต่อาชีพทางการประมงยังไม่ค่อยเจริญ ประชาชนที่มีอาชีพประมงก็เป็นประชาชนที่อยู่ตามชายฝั่งทะเล การใช้เครื่องมือทางประมง ยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร ส่วนใหญ่เป็นการประมงขนาดย่อม
การเลี้ยงสัตว์ มีการเลี้ยงกันเกือบทุกชนิด แต่ที่นิยมกันมาก และมีปริมาณการผลิตสูงได้แก่วัวเนื้อ วัวนม ควาย แพะและแกะ
การทำเหมืองแร่ เป็นอาชีพสำคัญของประชากร เพราะประเทศอินโดนีเซียอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรแร่ธาตุต่าง ๆ
การอุตสาหกรรม อินโดนีเซียมีโรงงานอุตสาหกรรมหลายประเภทที่สำคัญ ๆ ได้แก่ โรงงานผลิตอาหารสำเร็จรูป โรงงานผลิตเครื่องมือทางการเกษตร โรงงานยาสูบ โรงงานอุตสาหกรรมไม้แปรรูป โรงงานเครื่องหนัง โรงงานปูนซีเมนต์ โรงงานสร้างรถยนต์ และโรงงานสร้างเครื่องบิน
การอพยพย้ายถิ่นฐาน

เพื่อคลี่คลายความหนาแน่นของประชากรในบางแห่ง และเพื่อกระจายให้เกิดความสมดุลของประชากร รัฐบาลจึงได้มีการอพยพ ย้ายถิ่นฐานเช่น ย้ายผู้ที่ชอบทำการกสิกรรมให้ไปอยู่ในภูมิภาคที่มีคนอยู่น้อย รัฐบาลได้ให้ความช่วยเหลือในการย้ายถิ่นฐาน โดยจัดหาที่ดิน บ้าน รวมทั้งโรงเรียนระดับประถม และมัธยม การสาธารณสุขและสิ่งจำเป็นขั้นมูลฐานเช่น ถนน สหกรณ์ ศาลาประชาชน ศาสนสถาน และอุปกรณ์การเกษตร เป็นต้น

โดยที่เกาะชวาซึ่งเป็นที่ตั้งเมืองหลวง มีประชากรหนาแน่น และส่วนใหญ่ได้รับการศึกษาสูง มีฐานะดี เป็นคนมุสลิมที่ไม่เคร่งครัดมาก เนื่องจากพระพุทธศาสนาได้เข้ามารุ่งเรืองอยู่จนเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาอยู่ก่อน ตั้งแต่ปี พ.ศ.143 – 743 นอกจากนี้เกาะชวายังเป็นศูนย์ทางวัฒนธรรม และโดยความเชื่อในปัจจุบัน ประมุขของรัฐหรือประธานาธิบดีต้องเป็นคนชวา รัฐบาลจึงมีนโยบายที่จะพยายามอพยพคนชวาไปอยู่ในติมอร์ตะวันออก (ก่อนแยกตัวเป็นอิสระ) สุมาตราเหนือ (เฉพาะที่อาเสรี) สุลาเวสีและกาลิมันตัน

จิตสำนึกของชนกลุ่มต่าง ๆ ในการรักษาผลประโยชน์ของชาติ เนื่องจากอินโดนีเซียประกอบด้วย ชนหลายเผ่าพันธ์ และกระจัดกระจายอยู่ตามเกาะต่าง ๆ ทั่วประเทศ ชนเหล่านี้มีขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมแตกต่างกันไป ทำให้รัฐบาลต้องหาทางที่จะให้ชนเหล่านี้ มีจิตสำนึกในการเป็นคน เชื่อชาติเดียวกัน ด้วยวิธีการต่าง ๆ ให้ใช้ภาษาเดียวกันเป็นภาษากลางประจำชาติ (ภาษาฮาซา อินโดนีเซีย) สร้างคำขวัญโน้มน้าวจิตใจขึ้นเช่น ประเทศเดียว ชาติเดียว ภาษาเดียว ปลูกฝังหลักปัญจศีล ขนบธรรมเนียมโกตองเรยอง และบินเนกาตุงกาลอิกะ (สามัคคีในชนต่างเผ่า) ให้ประชาชนยึดมั่น

โดยทั่วไปแล้วชาวอินโดนีเซีย จะมีความสมัครสมานสามัคคีกันเป็นอันดี เพราะได้ต่อสู่เพื่อความเป็นเอกราชมาด้วยกัน และรู้ถึงความลำบากยากแค้น ในสมัยที่ตกเป็นอาณานิคมของชาวตะวันตกมาเป็นอย่างดี สิ่งเหล่านี้ทำให้ชาวอินโดนีเซียมีความสามัคคี เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันมาตลอด

ในอดีตที่ชาวอินโดนีเซียเคยอยู่ภายใต้การปกครองของคนต่างชาติมาเป็นเวลาช้านาน ทำให้ชาวอินโดนีเซียรังเกียจชาวต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวยุโรป ด้วยเหตุนี้อินโดนีเซียจึงพยายามดำเนินนโยบายที่เป็นอิสระ ไม่ผูกพันกับประเทศใด พยายามสร้างความแข็งแกร่งให้กับกองทัพ เพื่อครองความเป็นใหญ่ ในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้

ความขัดแย้งระหว่างชนกลุ่มต่าง ๆ อินโดนีเซียมีชาวจีนโพ้นทะเลอยู่มากกว่า 3.5 ล้านคน เป็นคนจีนที่ถือหนังสือเดินทางของประเทศจีนเกือบ 1 ล้านคน ที่เหลือเป็นผู้ที่ได้รับสัญชาติอินโดนีเซียแล้ว ชาวจีนส่วนใหญ่เป็นผู้ควบคุมเศรษฐกิจที่สำคัญภายในประเทศ และบางกลุ่มยังให้การสนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์ใต้ดิน ในอินโดนีเซียด้วย ทำให้ชาวอินโดนีเซีย มีความรู้สึกรังเกียจชาวจีนตลอดมา และมักจะมีการปะทะกันระหว่างชนสองเชื้อชาตินี้อยู่เสมอ ระหว่างการกวาดล้างคอมมิวนิสต์ เมื่อปี พ.ศ.2510 มีชาวจีนถูกสังหารไปเป็นจำนวนมาก รัฐบาลอินโดนีเซีย ได้ใช้มาตรการกำหนดเขตที่อยู่ และการเนรเทศชาวจีนที่มีพฤติการณ์ บ่อนทำลายอินโดนีเซีย ออกนอกประเทศ แต่ก็ไม่สามารถลดอิทธิพลของชาวจีนลงได้ ต่อมารัฐบาลอินโดนีเซียได้ผ่อนปรนให้ชาวจีนที่มีถิ่นฐานอยู่ในประเทศอินโดนีเซีย โอนสัญชาติเป็นชาวอินโดนีเซียได้

ศาสนา

ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ ถึงแม้ว่าอินโดนีเซียจะมีศาสนาหลายศาสนาด้วยกัน แต่เมื่อเกิดกรณีขัดแย้งในทางศาสนาก็จะเกิดในชั่วระยะเวลาอันสั้นเท่านั้น ประวัติศาสตร์ของอินโดนีเซียได้แสดงถึงการสมยอมกันในระหว่างศาสนาต่าง ๆ มาตลอดเวลากว่าพันปี ทุกอย่างได้ดำเนินไปอย่างสงบสุข ความใจกว้างในเรื่องศาสนา เป็นวิถีชีวิตของชาวอินโดนีเซียมาเป็นเวลาช้านานแล้ว

รัฐธรรมนูญของอินโดนีเซีย ให้สิทธิแก่ทุกคนที่จะนับถือศาสนาของตน ทุกคนมีเสรีภาพในทางศาสนา มีสิทธิที่จะเผยแพร่ศาสนาของตน เมื่อการกระทำนั้น ไม่เป็นการละเมิดต่อกฎหมาย และความสงบของสังคมและชาติบ้านเมือง

ศาสนาสำคัญในอินโดนิเซีย มีอยู่ห้าศาสนาหลัก ๆ ด้วยกันคือ
ศาสนาอิสลาม มีผู้นับถือประมาณร้อยละ 90
ศาสนาคริสต มีผู้นับถือประมาณร้อยละ 3 เป็นผู้นับถือนิกายโปแตสแตนท์ มากกว่านิกายโรมันคาธอลิคสองเท่า ผู้ที่นับถือนิกายโรมันคาธอลิค ส่วนใหญ่เป็นคนชวาภาคกลาง ชาวเกาะสุลาเวสี นุสาเตงการา และมาลูกู
ศาสนาพุทธ มีผู้นับถือประมาณร้อยละ 1
ศาสนาฮินดู มีผู้นับถือประมาณร้อยละ 3 ส่วนใหญ่อยู่ในเกาะบาหลี
ศาสนาขงจื้อ มีผู้นับถือประมาณร้อยละ 3 ส่วนใหญ่เป็นชาวจีน
การสอนศาสนา

อินโดนิเซียมีมหาวิทยาลัยชั้นสูงหลายแห่ง ซึ่งมีทั้งมหาวิทยาลัยที่สอนศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาธอลิค และมหาวิทยาลัยที่สอนศาสนาอิสลาม

แม้ว่าอินโดนิเซีย จะมีประชากรที่นับถือศาสนาต่างกันมาก แต่ก็ไม่ก่อให้เกิดปัญหาขัดแย้งทางศาสนาที่รุนแรง แต่ก็ปรากฎว่ามีกลุ่มต่อต้านรัฐบาลหลายกลุ่ม ที่พยายามใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือ ในการดำเนินงาน เช่น ขบวนการคอมมานโดจีฮัด และขบวนการอาเจห์เสรี ซึ่งมีเป้าหมายที่จะจัดตั้งรัฐบาลอิสลามขึ้น แต่การดำเนินการดังกล่าวไม่สามารถขยายตัวได้มากนัก เนื่องจากไม่ได้รับการสนับสนุนจากประชาชน และถูกปราบปรามอย่างรุนแรงจากรัฐบาล

ในอินโดนีเซีย ผู้แทนคริสตศาสนานิกายโรมันคาาธอลิค และนิกายโปรเตสแตนท์ ได้ดำเนินงานอย่างเข้มแข็งในพื้นที่ต่าง ๆ ซึ่งนอกจากดำเนินงานทางงศาสนาแล้ว ยังได้ทำงานในด้านสังคมและการศึกษา ได้สร้างสถาบันต่าง ๆ เช่น โรงพยาบาล โรงเลี้ยงเด็กกำพร้า โรงเรียนและอื่น ๆ

พลเมืองส่วนใหญ่ในเขตสุมาตราเหนือ (ตามูนูลี) ในซิลีบีสเหนือ (มินาฮาซา) ในนุสาเหงการา ในโบลูกัสและอิเรียนชยา ชาวเมืองได้หันไปนับถือศาสนาคริสต์ ในอินโดนีเซียมีชาวคาธอลิคประมาณ 1 ล้านคน และชาวโปรเตสแตนท์ประมาณ 2 ล้านคน

สมาคมมุสลิมก็ได้ดำเนินงานอย่างเข็มแข็งเหมือนกัน งานดังกล่าวไม่เกี่ยวแต่เฉพาะศาสนาเท่านั้นแต่รวมถึงงานทุกด้านทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจของประชาชน

เกาะบาหลี เป็นเกาะที่มีพลเมืองนับถือศาสนาฮินดู จะพบวัดเป็นจำนวนมาก ในชนบททุกแห่งจะมีวัดอย่างวน้อยสามวัด ซึ่งประชาชน จะพากันนำเครื่องสักการะไปบูชา เทพเจ้าเป็นประจำ ชาวบาหลีใช้ชีวิตอย่างชาวฮินดูมาช้านาน ปัจจุบันก็ยังมีมีสภาพอย่างเดิม ศาสนาพราหมณ์ฮินดูยังคงมีชีวิตอยู่ในบาหลี

ศาสนาที่เป็นที่นิยมของประชาชน ชาวอินโดนีเซียประมาณ ร้อยละ 88 นับถือศาสนาอิสลาม ทำให้อินโดนีเซีย เป็นประเทศที่มีคนนับถือศาสนาอิสลาม มากที่สุดในโลก เนื่องจากอินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันนดับต้น ๆ ของโลก

อิทธิพลของศาสนาต่อการดำเนินชีวิต เนื่องจากอินโดนีเซียมีประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม จึงมีแนวทางในการดำเนินชีวิต ตามแบบฉบับของศาสนาอิสลาม ดังนี้

การครองเรือน อุดมการณ์ของศาสนาอิสลามถือว่าผู้ชายเป็นผู้นำ เป็นหัวหน้าครอบครัว เป็นผู้เลือกถิ่นที่อยู่ เป็นผู้รับผิดชอบต่อความทุกข์สุขของครอบครัว และเป็นผู้สืบสกุล ด้วยเหตุนี้อิสลามจึงห้ามขาดไม่ให้หญิงมุสลิมเป็นภรรยาของผู้ที่มีความเชื่อถือต่างกัน ผู้ใดฝ่าฝืนให้ถือว่าได้ลาออก หรือถูกไล่ออกจากสังคมอิสลามแล้ว สมาชิกของสังคมอิสลาม มีสิทธิที่จะทำการประชาทัณฑ์ด้วยการเลิกคบหาสมาคมด้วย แต่ถ้าฝ่ายชายได้เปลี่ยนอุดมการณ์ ความเชื่อถือเดิมมาเป็นอย่างเดียว กับฝ่ายหญิงแล้วด้วยความสมัครใจก่อนการสมรสกัน หญิงมุสลิมก็ทำการสมสรสด้วยได้ ผู้นับถือศาสนาอิสลามมีความยึดมั่นในข้อห้ามอย่างแน่วแน่ จนต้องนำเอาหลักจารีตประเพณี มาบังคับเป็นกฎหมาย เพื่อกำหนดสถานภาพของครอบครัว อันเป็นการจำกัดสิทธิของสตรี จนมีการดิ้นรนเรียกร้องสิทธิเพิ่มขึ้น ทางสภาผู้แทนราษฎร

การกำหนดสถานภาพทางครอบครัวของอินโดนีเซีย ตามกฎหมาย จารีตประเพณี มีดังนี้

ชายเป็นหัวหน้าครอบครัว สืบเชื้อสายทางฝ่ายชายตั้งแต่บรรพบุรุษ สตรีถ้าสมรสแล้วต้องออกจากตระกูลของตนเองมาเป็นสมาชิกในครอบครัวของสามี บุตรที่เกิดเป็นสมาชิกในครอบครัวของสามี
มารดาเป็นหัวหน้าครอบครัวสืบเชื้อสายทางฝ่ายหญิง สามีและภรรยายังอยู่ในครอบครัวเดิมของตน บุตรที่เกิดจากสมาชิกในครอบครัวของมารดา
บิดามารดา เป็นหัวหน้าครอบครัว สืบเชื้อสายทางฝ่ายชายและหญิง สามีและภรรยายังอยู่ในครอบครัวเดิมของตน ส่วนบุตรที่เกิดคงเป็นสมาชิกในครอบครัวฝ่ายบิดาและมารดา
ตามปกติในชุมชนบางแห่ง การลำดับญาตินี้ทำให้ทางฝ่ายชายมีอำนาจเหนือฝ่ายหญิง หรือหญิงมีฐานะด้อยกว่าชาย ทางฝ่ายหญิงแม้จะมีหลักฐานเหนือกว่า ก็ไม่มีอำนาจเหนือกว่าชายทุกอย่าง ส่วนทางบิดา และมารดานั้น ฐานะของหญิงเท่าเทียมชายในกฎหมายจารีตประเพณี

การสมรสของชาวอินโดนีเซีย
ส่วนใหญ่ถือปฏิบัติตามประเพณี และบทบัญญัติของกฎหมายโมฮัมหมัด การหย่าร้างตามกฎหมายโมฮัมหมัด ให้สิทธิสามีเป็นผู้บอกเลิก แม้การบอกเลิกจะได้กระทำไปโดยไม่มีเหตุผล

การอุปโภคและบริโภค
อิสลามแนะนำให้อยู่ดีกินดี บริโภคอาหารที่มีคุณแก่ร่างกาย และสะอาดกับจิตใจ และอุปโภคเครื่องนุ่งห่มที่ประกอบจากวัสดุที่สะอาด และรักษาให้สะอาด เตรียมพร้อมที่จะนมัสการต่อพระเจ้าอยู่เสมอ

ตามคัมภีร์กุรอาน อิสลาม ได้เว้นการบริโภคซากสัตว์ สัตว์ที่ตายเอง เนื้อสุกร และสัตว์ทั้งหลายที่ถูกเชือด หรือถูกประหารโดยการขออนุญาตจากผู้ที่มิใช่อัลลอห์ นอกจากนี้ยังมีสัตวซ์พาวหนะและสัตว์เลี้ยงเช่น ลา แมว สุนัข สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ประเภทนกที่ใช้เท้าเป็นสื่อส่งอาหารใส่ปากเช่น แร้ง เหยี่ยว กา และสัตวว์ที่บริโภคเนื้อสัตว์ด้วยยกันเช่น เสือ สิงโต

การที่ห้ามบริโภคเนื้อสัตวว์ที่ถูกฆ่า โดยผู้ที่ไม่ใช่เป็นอิสลามนั้นเนื่องมาจากสิทธิของพระเจ้า เพราะอิสลามถือว่าพระเจ้าเป็นเจ้าชีวิต แม้สัตว์ที่ยอมให้เป็นอาหารของมนุษย์แล้วก็ตาม แต่มนุษย์จะบริโภคได้ก็แต่เลือดเนื้อของสัตว์เท่านั้น ส่วนชีวิตเป็นของพระเจ้า เมื่อจะเชือด หรือประหารชีวิต เพื่อนำมาเป็นอาหารจะต้องขอนุญาตจากพระเจ้าเสียก่อน นอกจากปลาและสัตวว์น้ำ ซึ่งโดยกฎของบสวภาวะของพระเจ้า เมื่อขึ้นมาอยู่บนบกมันจะตายเองด้วยดินฟ้าอกาศ ซึ่งเป็นเครื่องมือของพระเจ้า

พิธีศพ
อุดมการณ์ของอิสลามถือว่า การให้เกียรติแก่ศพ ไม่ว่าเมื่อมีชีวิตอยู่ จะถือศาสนาอะไร เป็นมารยาทอันสูงส่งที่มุสลิมทุกคนบจะถือปฏิบัติตาม การทำลายศพเป็นข้อห้ามอย่างเด็ดขาด โดยที่อุดมการณ์ของอิสลามถือว่ามนุษย์ และสรรพสิ่งทั้งหลายถูกสร้างโดยพระเจ้า ร่างกายของมนุษย์จึงยตกเป็นสิทธิของพระเจ้า เมื่อสิ้นชีวิตแล้วก็ต้องส่งยคืนไปในสวภาพเดิมและไปสู่ที่เดิม

การถือศีลอด
การถือศีลอดในเดือนรอมฎอนปีละหนึ่งเดือนคือ การอดอาหาร และเครื่องดื่ม ตลอดจนการบริโภคใด ๆ ทั้งสิ้น ระหว่างเวลาก่อนรุ่งอรุณ จนตะวันตกดิน เพื่ออบรมให้มีความอดทนต่อความหิวกระหาย เพื่อใให้รู้ซึ้งถึงอาการของความหิวกระหายว่าเป็นประการใด เพื่อมนุษย์ที่เกิดความหิวกระหาย เพราะอัตคัดขัดสน ควรจะได้รับการช่วยเหลืออย่างไรและเพียงใด

การบำเพ็ญฮัจยี
การไปร่วมกันประกอบพิธีฮัจยีในเมืองเมกกะห์หนึ่งครั้งในชีวิตนั้น ถือปฏิบัติสำหรับผู้มีกำลังทรัพย์และกำลังกายเท่านั้น เพื่อประโยชนน์ในการอบรมจิตใจ ให้นิยมความเสมอภาค เพราะในพิธีนี้ไม่ว่าจะเป็นกษัตริย์หรือคนธรรมดาสามัญที่รวมอยู่ในพิธีจะต้องแต่งกาย และกระทำพิธีอย่างเดียวกันหมด

ปูชนียสถาน
ปูชนียสถานในพระพุทธศาสนาได้แก่ โบโร บูเดอร์ (borobudur) อยู่ในยอร์คจาการ์ตา สร้างเมื่อปี พ.ศ.800 ศาสนสถานในศาสนาพราหมณ์ฮินดู ในเกาะบาหลี และมัสยิดอัล อาซาร์ของศานาอิสลาม ที่สร้างขึ้นภายหลังศาสนสวถานของพระพุทธศาสนา และศาสนาพราหมณ์ฮินดู

ความเชื่อของคนอินโดนีเซีย คนอินโดนีเซียเชื่อเรื่องวิญญาณ พระเจ้า บรรพบุรุษ ภูติผีปีศาจ ดวงดาว ต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งพบมากในเกาะบาหลีและเกาะต่าง ๆ ที่ควารมเจริญสมัยใหม่ยังเข้าไปไม่ถึง

ระบบการปกครองเมืองลอนดอน (The Secret city of London: Part 2 Government)

เทศบาลเมืองลอนดอนเป็นที่ๆมีลักษณะเฉพาะตัว เป็น เมืองเล็กในเมืองใหญ่และประเทศหนึ่งในอาณาจักร ที่มีลักษณะการเลือกตั้งที่ซับซ้อนที่สุดในโลกก็ว่าได้ เพราะการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีของเมืองมีการออกเสียงโดย สมาคมโบราณต่างๆ บริษัทห้างร้านใหม่ๆ และตำแหน่งนายกเทศมนตรียังมีคำนำหน้าตำแหน่งเหมือนขุนนาง และมีเสื้อผ้าเป็นพิเศษ รวมทั้งหมวกสวยงามด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนแต่มีที่มาจากความเกี่ยวข้องกันบนแผนภูมิแสดงการปกครองของเมืองนี้ ทำไมมันถึงดูซับซ้อนนัก ตึกสมัยใหม่มากมายอาจทำให้คุณคิดว่าลอนดอนนั้นเป็นเมืองสมัยใหม่ แต่ที่จริงแล้วเมืองนี้และลักษณะการปกครองของเมืองเป็นการปกครองที่เก่าแก่ที่สุดในเกาะอังกฤษ

การปกครองในเมืองลอนดอน เกิดขึ้นก่อนยุคอาณานิคมเฟื่องฟูของพระนางเจ้าวิคตอเรีย ก่อนที่พระนางแอนน์จะรวมสองแผ่นดินเข้าด้วยกัน และก่อนที่สันตะปาปาพระเจ้าจอหน์จะลงชื่อในมหากฎบัตร (Magna Carta) อย่างไม่เต็มใจเท่าใหร่นัก ในขณะที่มหานครลอนดอนได้มีสิทธิเลือกตั้งนายกเทศมนตรีเป็นครั้งแรกในปี 2000 รายชื่อของนายกเทศมนตรีของเมืองลอนดอนเดิมนั้นมีรายชื่อนายกกว่า 700 คน และมีประวัติการปกครองย้อนหลังไปเป็นเวลากว่าพันปี เมืองลอนดอนโบราณนี้เก่าแก่ขนาดที่ว่าไม่มีบันทึกเกี่ยวกับการปกครองในยุคแรกหลงเหลืออยู่เลย นอกจากเอกสารบางส่วนเช่นใน มหากฎบัตร ซึ่งได้กล่าวถึงลอนดอนในฐานะเมืองที่มีความเจริญอยู่ในขณะนั้น

ในขณะที่รัฐบาลสหรัฐได้รับอำนาจมาจากประชาชน หรือ รัฐสภาได้รับอำนาจมาจากราชวงศ์ ซึ่งได้รับอำนาจมาจากพระเจ้าอีกต่อหนึ่ง เมืองลอนดอนเริ่มมีอำนาจในการปกครองมาจาก “อดีตที่เก่าแก่มาก” ซึ่งหมายความว่าเมืองนี้เก่าแก่มาก และความเก่าแก่นี้ก็ทำให้เกิดประเพณีที่ซับซ้อนและแปลกประหลาด ที่น่าสนใจคือ ในการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีเมืองลอนดอนโบราณนี้ บริษัทต่างๆ จะไดรับสิทธิในการออกเสียงให้คะแนนตามขนาดของธุรกิจ ซึ่งจำนวนเสียงนี้นับเป็นสามในสี่ส่วนของผู้มีสิทธิทั้งหมด และอีกหนึ่งในสี่คือประชาการที่อาศัยอยู่ในเขตเมือง

ลักษณะการให้สิทธิในการเลือกตั้งกับองค์กรห้างร้านจะใช้เกณฑ์คือ ยิ่งบริษัทมีขนาดใหญ่เท่าใหร่ก็จะได้รับจำนวนเสียงมากเท่านั้น หลังจากได้จำนวนเสียงมาแล้ว ทางบริษัทก็จะคัดเลือกพนักงานให้เป็นผู้ออกเสียงแทน ซึ่งพนักงานจะต้องเป็นคนที่ทำงาน แต่ไม่ได้อาศัยอยู่ในเขตเมืองลอนดอน ผลคือสภาเมืองนั้นมีสมาชิกที่ได้รับการเลือกโดยประชากรประมาณ 20 คน ในขณะที่พนักงานของบริษัทห้างร้านต่างๆ เป็นส่วนที่เลือกสมาชิกสภาที่เหลืออีก 80 คน

เหตุผลเบื้องหลังประเพณีประหลาดนี้ก็เนื่องมาจากว่า สัดส่วนประชากรของเมืองต่อคนที่เดินทางมาทำงานในเขตเมืองลอนดอนนั้นสูงถึง 1 ต่อ 43 คน ทั้งหมดแล้ว รวมกันได้เป็นจำนวนคนที่เดินทางไปทำงานในแต่ละวันมากกว่า 30,000 คน ทั้งนี้ก็เพราะว่าพนักงานเหล่านี้เป็นคนที่ใช้ระบบขนส่งมวลชลของเมือง แต่ผู้ที่เป็นหัวหน้าคณะทำงานของเมืองก็คือนายกเทศมนตรี หรือตำแหน่ง The Right Honorable, the Lord Mayor of London

ทีนี้สมมติว่าคุณอยากจะเป็นนายกเทศมนตรี แน่นอนว่าถ้าเป็นลอนดอนอีกส่วนหนึ่งคุณก็แค่

1) เป็นคนอังกฤษ

2) อาศัยอยู่ในลอนดอนอย่างน้อยหนึ่งปี

3) ชนะการเลือกตั้ง

ถูกต้องไหม? แต่ไม่ใช่เลย สำหรับเมืองลอนดอนโบราณของเรา แค่นั้นยังไม่พอ พร้อมจะรับฟังรายละเอียดเกี่ยวกับการเป็นนายกเทศมนตรีรึยัง อันดับแรกก่อนเป็นนายกเทศมนตรีคุณต้องเป็นนายอำเภอของลอนดอนก่อน แต่ก่อนที่จะเป็นนายอำเภอ คุณต้องเป็นเทศมนตรีก่อน เทศมนตรีคืออะไร? พื้นที่ของลอนดอนแบ่งออกเป็น 25 เขตย่อยๆ ในแต่ละเขตย่อยประชาชนมีสิทธิเทศมนตรีมาเป็นตัวแทนหนึ่งคนในสภาเทศบาลเมือง แต่ก่อนที่คุณจะได้รับเลือกเป็นเทศมนตรีของเขต คุณต้องมีสถานะเป็นบุคคลที่ได้รับสิทธิเสียก่อน แล้วใครเป็นผู้ให้สิทธิล่ะ ก็ไม่ใช่ใครอื่นนอกจากสภาเทศมนตรีนั่นเอง แต่อยู่ดีๆ เราจะไปสมัครขอสิทธิเพื่อมารับเลือกตั้งเป็นเทศมนตรีก็ดูจะขัดแย้งกันด้านผลประโยชน์ได้

โชคดีที่ยังมีอีกวิธีหนึ่งที่จะได้สถานะนั้นมาซึ่งก็คือการเข้าร่วมสมาคมต่างๆ น่าเสียดายที่ปัจจุบันนี้ส่วนมากไม่มีสถานะเป็นสมาคมแล้ว แต่ถูกเรียกว่า บริษัทการค้า แต่สมาคมโบราณที่ยังเหลืออยู่ก็ยังมีอยู่ให้เลือกเป็นสมาชิกได้อีก 108 แห่ง เช่น สมาคมพ่อค้าปลา สมาคมพ่อค้า สมาคมผู้ผลิตอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ สมาคมนักการธนาคาร สมาคมนักเดินเรือ สมาคมการเดินรถ สมาคนพ่อค้าเนื้อ สมาคมช่างทำขนมปัง และ สมาคมผู้ผลิตเทียน สองแห่ง ที่น่าตื่นเต้นที่สุดก็คือ สมาคมนักบัญชี สมาคมเหล่านี้ส่วนใหญ่กลายเป็นองค์กรการกุศลแต่ส่วนใหญ่แล้วก็ยังคงเปิดทำการอยู่ เช่นสมาคมช่างทองที่ทำหน้าที่ตรวจสอบสารประกอบโลหะในเหรียญกษาปน์ของอังกฤษ หรือสมาคมผู้รับจ้างเดินรถ ที่ทำหน้าที่ออกใบอนุญาตสำหรับคนขับแทกซี่ ในการเข้าร่วมสมาคมเหล่านี้คุณอาจจะต้องมีคุณสมบัติของการเป็นผู้เชี่ยวชาญ หรือบางครั้งบางสมาคมก็ไม่แจ้งเงื่อนไขว่าทำอย่างไรคุณจะสามารถเป็นสมาชิกได้

ถ้าคุณไม่สามารถเป็นสมาชิกสมาคนไหนได้ แต่คิดว่าจะหาทางลัดด้วยการตั้งบริษัทของตัวเองขึ้นมาแล้วมอบสถานะให้ตัวเองละก็ ขอบอกเลยว่าทำไม่ได้ เพราะบริษัทที่จะมีสิทธ์ให้การรับรองสถานะก็ต้องได้รับการเห็นชอบจากสภาเทศมนตรีเสียก่อน แต่สมมติว่าคุณได้รับการรับรองสถานะมาด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง ทีนี้คุณก็ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นเทศมนตรีได้ หลังจากได้รับการอนุมัติแล้ว เราก็ผ่านอุปสรรคแรกไปได้ ทีนี้ก็แค่ชนะการเลือกตั้งในเขตพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ 14เขตที่ผู้คนอาศัยอยู่ หรือจะเป็นอีก 21 เขตที่เป็นห้างร้าน เมื่อคุณเป็นส่วนหนึ่งของสภาเทศมนตรีแล้ว คุณก็เริ่มเดินเข้าสู่เส้นทางการเป็นนายกเทศมนตรี ด้วยการสมัครตำแหน่งนายอำเภอ สิ่งที่ต่างออกไปคือ คราวนี้จะมีเพียงตัวแทนจากบริษัทห้างร้านที่เข้ามาเลือกตั้ง ถ้าคุณได้รับเลือกเป็นนายอำเภอและทำหน้าที่จนหมดวาระแล้ว คุณก็มีสิทธิลงเลือกตั้งเพื่อเป็นนายกเทศมนตรี

โดยสรุปเมื่อคุณได้รับการรับรองสถานะไม่ว่าจะจากสภาเทศมนตรีหรือจากบริษัทห้างร้านและสมาคมต่างๆ คุณจะมีสิทธิได้รับเลือกเป็นเทศมนตรี และบริษัทห้างร้านก็อาจเลือกคุณให้เป็นนายอำเภอและจากนั้นก็จะรับเลือกเป็นนายกเทศมนตรีได้ และถ้าเทศมนตรีเลือกให้คุณดำรงตำแหน่ง คุณก็จะได้รับตำแหน่งท่านนายกเทศมนตรี เป็นระยะเวลาหนึ่งเดือน โดยไม่ได้รับเงินเดือน และต้องออกค่าใช้จ่ายต่างๆด้วยตนเอง ซึ่งถ้าให้บอกหน้าที่ของคุณก็น่าจะประกอบด้วยการออกงาน กล่าวสุนทรพจน์หลายร้อยครั้งในหนึ่งปี ตามที่ต่างๆทั่วโลก และทำงานส่งเสริมการลงทุนต่างๆในเมือง ได้ใส่หมวกสวยๆ นั่นก็น่าจะคุ้มกับการดำรงตำแหน่งแล้วล่ะ

เปิดหน้าต่างอาเซียน ประเทศบรูไนดารุสซารามPosted: March 7, 2013 in Uncategorized
0บรูไนดารุสซาลาม หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า เนการา บรูไน ดารุสซาลาม (Negara Brunei Darussalam) แปลว่า นครแห่งสันติสุข เข้าร่วมเป็นประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นลำดับที่ 6 เมื่อวันที่ 7 มกราคม ค.ศ.1984 (พ.ศ. 2527) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะบอร์เนียว (Borneo) ชายฝั่งทางด้านเหนือจรดทะเลจีนใต้ ส่วนพรมแดนทางบกถูกล้อมรอบด้วยรัฐซาราวัก ประเทศมาเลเซีย มีพื้นที่ประมาณ 5,765 ตารางกิโลเมตร ส่วนใหญ่เป็นป่าไม้เขตร้อน ว่ากันว่า ในป่าดิบของประเทศบรูไนนั้น มีต้นไม้ชื่อว่า “ต้นไทรจอมพิฆาต” เหตุที่ได้ชื่อนี้ก็เพราะว่ามันใช้ราก ลำต้น หรือกิ่งก้านเกาะพันต้นไม้อื่นไว้แน่นจนต้นไม้นั้นตายไป

บรูไนมีประชากรราว 422,000 คน (ข้อมูลปี 2553) ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามนิกายซุนนีย์ โดยเกือบร้อยละ 70 ของจำนวนประชากรทั้งหมดเป็นคนที่มีเชื้อสายมาลายู (Melayu) จึงเป็นเหตุให้บรูไนใช้ภาษามาเลย์ (Bahasa Melayu) เป็นภาษาราชการ และด้วยความเคร่งครัดในศาสนา ผู้หญิงบรูไนส่วนมากจึงมักแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่คลุมร่างกายตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า เรียกว่า บาจูกุรัง (Baju Kurung) ส่วนผู้ชายจะแต่งกายด้วยเสื้อแขนยาว ตัวเสื้อยาวถึงหัวเข่า นุ่งกางเกงขายาวแล้วนุ่งโสร่งทับ เรียกว่า บาจู มลายู (Baju Melayu) และนอกจากเอกลักษณ์ในเรื่องของการแต่งกายแล้ว บรูไนยังมีอาหารประจำชาติ คือ อัมบูยัต (Ambuyat) ซึ่งเป็นอาหารยอดนิยมของชาวบรูไนเป็นอย่างมาก อัมบูยัตจะมีลักษณะเหนียวข้นคล้ายข้าวต้มหรือโจ๊ก มีแป้งสาคูเป็นส่วนผสมหลัก วิธีรับประทานจะใช้แท่งไม้ไผ่ 2 ขาม้วนแป้งไว้รอบๆ แล้วจุ่มในซอสผลไม้เปรี้ยวที่เรียกว่า Cacah หรือซอสที่เรียกว่า Cencalu ซึ่งทำจากกะปิ ทานคู่กับเครื่องเคียง 2-3 อย่าง เช่น เนื้อห่อใบตองย่าง ปลาทอด และผัดผัก เป็นต้น ส่วนการรับประทานอัมบูยัตให้ได้รสชาตินั้น ควรทานตอนที่ยังร้อนอยู่ และกลืนทันทีโดยไม่ต้องเคี้ยว

อีกไม่กี่ปี ประเทศไทยก็จะก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน หน่วยงาน โรงเรียน มหาวิทยาลัย ต่างเร่งเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนเพื่อรับการเปิดประเทศ แต่การเปิดประเทศเพื่อรับประชาคมอาเซียนนั้น ไทยเราใช่ว่าจะ “ได้” เพียงสถานเดียว เรื่องทุกเรื่องมี “ได้” ย่อมมี “เสีย” หลายคนยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่า “ประชาคมอาเซียน” หรือ “เอซี” (ASEAN Community) คืออะไร

ในเวที ASEAN Forum ครั้งที่ 5 ในหัวข้อ การคุ้มครองทางสังคมกับอาเซียน : ข้อกังวล โอกาส และข้อเสนอแนะจากภาคประชาชน

ผศ.ดร.บัญชร แก้วส่อง กล่าวว่า ที่ผ่านมาเรามองการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนเพียงด้านเดียว คือด้านเศรษฐกิจ ทั้งที่ยังมีอีกถึงสองด้าน ให้เราต้องนึกถึง คือ ด้านการเมืองและความมั่นคงของอาเซียน และด้านสังคมและวัฒนธรรม แต่ก่อนที่เราจะก้าวเข้าไปเป็นAECอย่างเต็มตัวนั้น เราควรจะต้องเรียนรู้ประเทศเพื่อนบ้านของเรา ทำความเข้าใจถึงวัฒนธรรม ความแตกต่างในด้านต่างๆ ระหว่างประเทศในอาเซียนเสียก่อน

อาเซียนนั้นมีประเทศที่มีภูมิศาสตร์แตกต่างกันอยู่ 2 แบบคือ อาเซียนภาคพื้นทวีป อาทิ ไทย พม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชา มาเลเซีย และอาเซียนภาคพื้นทะเล อาทิ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ ซึ่งนอกจากจะมีความแตกต่างทาง ด้านภูมิศาสตร์แล้ว ยังมีความเหลื่อมล้ำในเรื่องสมาชิกใหม่และสมาชิกเก่าอีกด้วย

การเป็นAECจะทำให้เกิดการไหลเวียนของสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงาน ซึ่งต้องถามต่อไปว่าเมื่อมีการไหลเวียนของสินค้า อย่างนี้ผลประโยชน์จะตกอยู่ที่ใคร เพราะสินค้าที่จะไหลเข้ามาก็คือด้านการเกษตรที่ราคาถูกกว่าสินค้าเกษตรภายในประเทศ แต่สินค้าที่จะไหลออกก็คือด้านอุตสาหกรรมจากอุตสาหกรรม ขนาดใหญ่” ผศ.ดร.บัญชรกล่าว และว่า รวมทั้งการไหลเวียนของการลงทุน เมื่อภาคธุรกิจสามารถย้ายการลงทุนได้อย่างอิสระ ก็ย่อมเลือกประเทศ ที่ค่าแรงถูกที่สุดเพื่อให้ต้นทุนราคาถูกที่สุด เรียกได้ว่าเป็นการย้ายทุนหาแรงงาน ซึ่งแน่นอนว่าจะเกิดผลกระทบต่อแรงงานไทยแน่นอน ซึ่งนอกจากจะกระทบแรงงานไร้ฝีมือแล้ว ยังกระทบถึงแรงงานฝีมืออย่างแพทย์ พยาบาล หรือสายสุขภาพ จากประเทศฟิลิปปินส์ก็เริ่มทยอยเข้ามาในไทยแล้ว

นอกจากนี้ ธุรกิจภาคSMEsนั้นน่าเป็นห่วงมาก เพราะเป็นกลุ่มธุรกิจท้องถิ่น เป็นกลุ่มทุนย่อย ศักยภาพการแข่งขันน้อย เมื่อเทียบกับภาคธุรกิจขนาดใหญ่ รวมทั้งยังมีความซ้ำซ้อนของสินค้าและบริการ ในกลุ่มประเทศอาเซียนด้วยกัน ซึ่งที่ผ่านมาเรามองแต่การแข่งขันระหว่างประเทศในอาเซียน คิดว่าจะเอาชนะกันอย่างไร ซึ่งแค่คิดก็ผิดแล้ว แทนที่จะช่วยกันคิดว่าร่วมกันสู้กับภูมิภาคอื่นอย่างไร

หากเราหันกลับมามองโอกาสที่ชุมชนจะได้รับจะพบว่าเรามีโอกาส ทางเศรษฐกิจค่อนข้างน้อย สินค้าเกษตรราคาถูกที่เข้ามาอาจทำให้เรา มีวัตถุดิบราคาถูก แต่เราจะสามารถพัฒนาและยกระดับได้หรือไม่ และ เรายังมีโอกาสได้แรงงานไร้ฝีมือในราคาถูกลงเพราะแรงงานจากประเทศ อื่นเข้ามาในไทยอย่างเสรีมากขึ้น

ดังนั้น เราควรใช้โอกาสนี้ในการเสริมสร้างความเข้าใจเรื่องวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของชุมชนท้องถิ่นใน อาเซียน เช่น เสริมสร้างความมั่นคงชุมชนตามแนวชายแดน ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญเพราะเขาต้องใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่เดียวกัน เมื่อมีความสัมพันธ์ที่ดีความเข้มแข็งก็จะตามมา ที่สำคัญอีกประการคือ เรื่องของคน ที่ต้องยกระดับชีวิตและความ เป็นอยู่ของคนให้ดีขึ้น รวมทั้งต้องใส่ใจต่อสุขภาวะ สวัสดิการต่างๆ นอก จากนั้นก็ต้องสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยมั่นคง ปราศจากสิ่งเสพติด

วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ มูลนิธีชีววิถี กล่าวว่า จากยุทธศาสตร์การเมืองของประเทศสหรัฐอเมริกา มีบางอย่างที่ทำให้อาเซียนต้องร่วมมือกันทางเศรษฐกิจ รวมทั้งต้องมีความร่วมมือทางการเมืองบางอย่างร่วมกัน อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน กล่าวคือ โลกของเรากำลังเข้าสู่ยุควิกฤตของ อาหารและพลังงาน ทวีปเอเชียกลายเป็นเป้าหนึ่งในการจัดการเรื่องพลังงานและเรื่องการใช้ที่ดินทางการเกษตรในระดับโลก การลงทุน ขณะนี้ไม่ใช่การเก็งกำไรในตลาดหุ้นหรืออสังหาริมทรัพย์ แต่เป็นการเก็งกำไรในเรื่องการลงทุนด้านการเกษตรและอาหาร

จะเห็นว่าพื้นที่จำนวนมากของเอเชียเป็นพื้นที่สัมปทานการเกษตรของทุนต่างชาติ รองจากทวีปแอฟริกา โดยเฉพาะในลาวที่มีสถิติการครอบครองที่ดินของชาวต่างชาติสูงเป็นอันดับ 2 ของโลก ซึ่งหากมองอีกด้านหนึ่งก็ เป็นโอกาสของภาคเกษตร แต่หากเราจัดการหรือฉวยโอกาสตรงนี้ไม่ได้ก็จะกลายเป็นโอกาสของบริษัทขนาดใหญ่ และอาจนำมาสู่การล่มสลายของเกษตรกรรายย่อยในที่สุด นอกจากนี้ เราต้องมองความแตกต่างในอาเซียนและความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยเอง เราใช้ชุดความคิดว่าประเทศไทยผลิตข้าวเป็นอันดับ 1 ของโลก แต่ไม่มองความจริงว่า เกษตรกรที่ไร้ที่ดินเพิ่มขึ้น

วิไลวรรณ แซ่เตีย คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย กล่าวว่า กว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของแรงงานไทยไม่ทราบว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ในการเปิดประชาคมอาเซียน ซึ่งอยากให้รัฐบาลเปิดเผยข้อมูลให้ประชาชนทราบว่าทำข้อตกลงอะไรอย่างไรกับประเทศต่างๆ เพื่อให้ประชาชนรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นได้ถูก นักวิชาการบางคนบอกว่าจะเกิดผลกระทบแต่บางคนบอกว่าไม่ ปัญหาคือเราไม่รู้ รัฐบาลควรแก้กฎหมายให้เหมาะสม ในเรื่องข้อจำกัดต่างๆ ให้เหมาะสมกับวิถีที่จะมีการเปิดเสรี รวมทั้งจะทำอย่างไรให้แรงงานต่างด้าวได้รับสิทธิที่เหมาะสม ได้รับการดูแล ข้อเท็จจริงคือรัฐบาลไม่ฟังเสียงประชาชน เราไม่มีพลังในการต่อรองกับภาครัฐ เท่ากับภาคธุรกิจ ซึ่งรัฐบาลควรให้สัตยาบรรณ อนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 ที่ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคม และการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัวกัน และฉบับที่ 98 ว่าด้วยการปฏิบัติ ตามหลักการแห่งสิทธิในการรวมตัวกันและร่วมเจรจาต่อรอง

โดยปรกติแล้วผมได้รับเชิญให้ไปบรรยายและให้ความรู้ในประเด็นต่างๆ อยู่เป็นประจำ ในระยะหลังนั้น หัวข้อที่ผมได้รับเชิญให้ไปพูดบ่อยครั้งมากที่สุด แทบไม่เว้นแต่ละวันคือประเด็นที่เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน ซึ่งถึงแม้ว่าประเด็นนี้จะถูกกล่าวถึงมากขึ้น แต่การสำรวจที่ผ่านมากลับพบว่า คนไทยที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนมีสัดส่วนน้อยมาก ซึ่งอาจทำให้คนไทยพลาดโอกาสหรือขาดความพร้อมในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้น

ผมจึงคิดว่าเป็นการดีที่จะเขียนบทความเพื่อเป็นการถ่ายทอดความรู้และช่วยสร้างความตระหนักในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนมากขึ้น ซึ่งในบทความจะตอบคำถามที่ว่าประเทศไทยจะเป็นอย่างไรหลังเข้าสู่ประชาคมอาเซียน? สิ่งที่จะเกิดขึ้นกับประเทศไทยมีหลายประการ เช่น

1) เศรษฐกิจขยายตัวมากขึ้น
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัว คือ การลดอัตราภาษีนำเข้าเหลือร้อยละ 0 และการขจัดมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีของประเทศสมาชิกอาเซียน ทำให้มูลค่าการค้าระหว่างไทยกับอาเซียนขยายตัวสูงขึ้น นอกจากนี้การเปิดเสรีการลงทุนจะทำให้มีเงินลงทุนโดยตรงจากประเทศสมาชิกอาเซียนเข้ามายังประเทศไทยมากขึ้น โดยเฉพาะการลงทุนในธุรกิจบริการที่อนุญาตให้ต่างชาติเข้ามาถือหุ้นได้สูงถึงร้อยละ 70 เช่น การขนส่งทางอากาศ บริการด้านการท่องเที่ยว บริการสุขภาพ และบริการโลจิสติกส์ เป็นต้น รวมทั้งการลงทุนจากประเทศนอกกลุ่มอาเซียนมายังประเทศไทยมากขึ้น เนื่องจากภูมิศาสตร์ของไทยเหมาะแก่การลงทุนเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งไปยังประเทศอื่นในภูมิภาค
ที่สำคัญคาดหมายว่าจะมีนักท่องเที่ยวจากอาเซียนเพิ่มมากขึ้น ทำให้ไทยมีรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น เนื่องจากข้อจำกัดในการเดินทางระหว่างประเทศอาเซียนลดลง โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมระหว่างประเทศพัฒนามากขึ้น การไหลเวียนของข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับประเทศในอาเซียนเพิ่มมากขึ้น และการเคลื่อนย้ายของแรงงานออกไปทำงานในประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มมากขึ้น เป็นต้น

2) โครงสร้างเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไปสู่การผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น
การเปิดเสรีให้สินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน และแรงงานทักษะสูงสามารถเคลื่อนย้ายภายในภูมิภาคได้อย่างเสรีมากขึ้น ทำให้ไทยต้องเผชิญการแข่งขันจากประเทศเพื่อนบ้านรุนแรงขึ้น ซึ่งจะผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของเศรษฐกิจไทยไปสู่ภาคเศรษฐกิจที่เป็นจุดแข็งของประเทศและภาคเศรษฐกิจที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น
โดยภาคเศรษฐกิจที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ คือ สินค้าเกษตร เช่น ข้าว น้ำมันปาล์ม ถั่วเหลือง โคเนื้อ โคนม ชา กาแฟ หอม กระเทียม ไหมดิบ สินค้าประมง และอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น ขณะที่ภาคบริการ เช่น การเงิน ธนาคาร ประกันภัย โทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์ ค้าปลีก-ค้าส่ง และโลจิสติกส์ ไทยอาจสูญเสียส่วนแบ่งการตลาดให้กับคู่แข่งจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะสิงคโปร์ที่มีศักยภาพในด้านบริการสูงที่สุดในอาเซียน ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์ ได้แก่ อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง (เช่น ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์) อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มจากการออกแบบ (เช่น แฟชั่น เฟอร์นิเจอร์) และ อุตสาหกรรมการผลิตสินค้าจำเป็น (เช่น แปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตร อุปโภคบริโภค วัสดุก่อสร้าง) ส่วนภาคบริการที่จะได้ประโยชน์ คือ การท่องเที่ยว บริการสุขภาพและความงาม บริการธุรกิจ และการก่อสร้างและออกแบบ เป็นต้น

3) กฎระเบียบและมาตรฐานเป็นสากลมากขึ้น
การรวมตัวเป็นประชาคมจะทำให้ประเทศสมาชิกจำเป็นต้องปรับปรุงกฎระเบียบ แนวปฏิบัติและมาตรฐานด้านต่าง ๆ ให้สอดคล้องกันมากขึ้นเพื่อความสะดวกในการดำเนินธุรกรรมระหว่างประเทศ เช่น มาตรฐานของสินค้าและการให้บริการ มาตรฐานด้านคุณวุฒิวิชาชีพ กฎระเบียบและพิธีการทางศุลกากรและการตรวจคนเข้าเมือง กระบวนการจัดตั้งและจดทะเบียนธุรกิจ การคุ้มครองสิทธิแรงงานและสิทธิผู้บริโภค บรรษัทภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นต้น

4) การกระจายความเจริญมากขึ้น
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเชื่อมโยงการคมนาคมระหว่างประเทศ เช่น ถนนและทางรถไฟ จะทำให้เกิดพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ๆ และการกระจายความเจริญสู่พื้นที่บริเวณจุดผ่านแดนและแนวเส้นทางที่เชื่อมต่อระหว่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจตามโครงการเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจในกรอบความร่วมมืออนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ซึ่งประกอบด้วย 3 แนวพื้นที่ ได้แก่
(1) ระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor) เชื่อมโยงระหว่างเมืองเมาะละแหม่ง เมียนม่าร์ ผ่านแม่สอด ตาก สุโขทัย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร สะหวันนะเขต ลาว และสิ้นสุดที่เมืองดานัง เวียดนาม
(2) ระเบียงเศรษฐกิจแนวเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridor) เชื่อมโยงระหว่างนครคุนหมิง จีน ผ่านเชียงรายที่อำเภอแม่สายและเชียงของ และไปสิ้นสุดที่กรุงเทพฯ
(3) ระเบียงเศรษฐกิจแนวใต้ (Southern Economic Corridor) เชื่อมโยงระหว่างกรุงเทพฯ ไปยังกัมพูชาและเวียดนามมีหลายเส้นทางย่อย โดยมีจุดผ่านแดนระหว่างไทยและกัมพูชา 2 แห่ง คือ อรัญประเทศ/ปอยเปต และตราด/เกาะกง เส้นทางระเบียงเศรษฐกิจแนวใต้จะเชื่อมต่อกับโครงการก่อสร้างมอเตอร์เวย์ระหว่างท่าเรือน้ำลึกทวาย กรุงเทพฯ และท่าเรือแหลมฉบัง

5) สังคมมีความหลากหลายเชื้อชาติและวัฒนธรรมมากขึ้น
ประชาคมอาเซียนจะทำให้ความสัมพันธ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมภายในภูมิภาคเพิ่มมากขึ้น ประชาชนในภูมิภาคอาเซียนมีความใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้นและมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันมากขึ้น โดยเป็นผลจากการเปิดเสรีทางการค้าการลงทุนและการเปิดเสรีการเคลื่อนย้ายแรงงานวิชาชีพที่จะทำให้มีการเคลื่อนย้ายของบุคลากรชาวต่างชาติเข้ามาทำงานในประเทศไทยมากขึ้น การอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการผ่านแดนและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมระหว่างประเทศที่จะทำให้มีนักท่องเที่ยวต่างชาติมากขึ้น การเปิดเสรีบริการด้านการศึกษาและการแลกเปลี่ยนทางด้านเทคโนโลยี วัฒนธรรมและองค์ความรู้ จะทำให้มีนักศึกษาต่างชาติเข้ามาศึกษาในประเทศมากขึ้น และมีการแลกเปลี่ยนนักเรียน นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรระหว่างกันมากขึ้น ซึ่งทำให้สังคมไทยเป็นสังคมที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมมากขึ้น เป็นต้น
การเข้าเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมอาเซียนอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบทั้งเชิงบวกหรือลบต่อประเทศไทย ซึ่งเราอาจมองสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นโอกาสหรือภัยคุกคามก็ได้ ทั้งนี้การพัฒนาความรู้และการเตรียมความพร้อมเป็นเงื่อนไขสำคัญของการรับโอกาสและป้องกันภัยคุกคามที่จะเกิดขึ้น หากนับตั้งแต่ตอนนี้ยังมีเวลาอีกประมาณ 3 ปีจึงจะถึงเส้นตายที่จะบรรลุเป้าประสงค์ในการสร้างประชาคมอาเซียนในวันที่ 31 ธันวาคม 2558 ซึ่งถือว่ามากเพียงพอและยังไม่สายเกินไปที่จะเริ่มต้น

ฟาฮาด อัล อัตติยา: ประเทศที่ไม่มีน้ำ

ลองนึกภาพประเทศที่มีอำนาจต่อรองมากมายเหลือเกิน ได้แก่ น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ แสงแดด พลังลม (และเงิน) แต่ขาดทรัพยากรหนึ่งที่เป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต คือ น้ำ

วิศวกรโครงสร้างพื้นฐาน ฟาฮาด อัล-อัตติยา พูดถึงวิธีเหลือเชื่อที่ประเทศเล็กๆในตะวันออกกลางอย่าง กาต้าร์ สร้างน้ำขึ้นมาใช้

ขอความสันติสุขจงเกิดแก่ท่าน ยินดีต้อนรับสู่ โดฮา ผมมีหน้าที่สร้างความมั่นคงด้านอาหารของประเทศนี้ งานของผมสองปีข้างหน้า คือวางแผนแม่บททั้งหมด แล้ว 10 ปีต่อมาก็นำไปใช้จริงแน่นอนว่า ผมทำงานนี้ร่วมกับคนอีกมากมายแต่อันดับแรก ผมต้องเล่าเรื่องหนึ่งให้คุณฟัง ซึ่งก็เป็นเรื่องของผมเอง เรื่องเกี่ยวกับประเทศ ที่ทุกๆท่านกำลังนั่งอยู่ที่นี่ในวันนี้

แน่นอนว่า พวกคุณส่วนใหญ่ได้ทานอาหารไปสามมื้อแล้วในวันนี้และอาจจะยังทานอีกหลังจากงานนี้ เข้าเรื่องดีกว่าครับ กาตาร์ ในปี 1940 เป็นอย่างไรตอนนั้นมีคนอาศัยอยู่ราว หมื่นหนึ่งพันคนที่นี่ไม่มีน้ำ ไม่มีพลังงาน น้ำมัน รถ ไม่มีอะไรพวกนั้นเลย คนส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ที่นี่ไม่ว่าจะอยู่ในหมู่บ้านแถบชายฝั่ง ทำประมงหรือเป็นชนเผ่าเร่ร่อน ที่เร่ร่อนไปทั่วตามสภาพแวดล้อม พยายามหาแหล่งน้ำ สิ่งสวยงาม ที่ทุกคนเห็นอยู่ตอนนี้ ยังไม่มี ไม่มีเมืองใหญ่ๆเช่นที่คุณเห็นทุกวันนี้ อย่าง โดฮา ดูไบ อาบูดาบี คูเวต หรือ ริยาห์ มันไม่ใช่ว่าพวกเขาพัฒนาเมืองขึ้นมาไม่ได้ แต่ไม่มีทรัพยากรที่จะนำมาพัฒนา คุณจะเห็นได้ว่า อายุเฉลี่ยของประชากรก็สั้นด้วย คนส่วนใหญ่เสียชีวิตประมาณอายุ 50

เข้าสู่บทที่สองดีกว่านะครับ ยุคน้ำมัน ปี 1939 เป็นปีที่ขุดพบน้ำมัน แต่น่าเสียดาย ไม่ได้ขุดมาใช้ในเชิงพาณิชย์อย่างเต็มที่จนเมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่สอง มันทำให้เกิดอะไรขึ้นหรือ มันเปลี่ยนคุณลักษณะของประเทศนี้ไป อย่างที่ท่านเห็น และเป็นประจักษ์พยานอยู่ในตอนนี้ มันยังทำให้คนที่เดินทางร่อนเร่ไปทั่วทะเลทราย เพื่อหาแหล่งน้ำ หาอาหารพยายามเลี้ยงดูปศุสัตว์ของพวกเขา กลายมาอยู่ในเมือง คุณอาจเห็นว่านี่เป็นเรื่องแปลก แต่ในครอบครัวของผม เรามีสำเนียงต่างกัน แม่ผมพูดสำเนียงที่ต่างจากพ่อผมมาก เราเป็นประชากรทั้งหมดประมาณสามแสนคน ในประเทศเดียวกันแต่ขณะนี้มีสำเนียงพูดราว ห้าหรือหกสำเนียง บางคนถามว่า ทำไมเป็นอย่างนั้น? เพราะเราเคยอยู่กันอย่างกระจัดกระจาย เราไม่สามารถอยู่แบบรวมกลุ่มกันแน่น เพียงเพราะว่า มันไม่มีทรัพยากร แล้วเมื่อเรามีทรัพยากร คือน้ำมัน เราเริ่มสร้างเทคโนโลยี่ที่หรูหราเหล่านี้และพาคนมารวมกัน เพราะเราต้องให้คนมากระจุกกันอยู่ คนเริ่มรู้จักกันและกัน เราพบว่า มีความแตกต่างกันอยู่บ้างในสำเนียงการพูด นี้ก็คือบทที่สอง หรือยุคน้ำมัน

ลองมาดูทุกวันนี้กัน นี่น่าจะเป็นเส้นขอบฟ้าของเมืองโดฮา ที่ทุกคนส่วนใหญ่ในที่นี้ได้เห็นกันแล้ว จำนวนประชากรทุกวันนี้เป็นเท่าไหร่หรือ หนึ่งจุดเจ็ดล้านคน ในช่วงเกือบ 60 ปีที่ผ่านมา การเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ยของเราอยู่ที่ประมาณ 15% ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา อายุเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 78 ปริมาณการใช้น้ำของเราเพิ่มขึ้นเป็น 430 ลิตร และติดกลุ่มเมืองที่ใช้น้ำมากที่สุดในโลก จากการไม่มีน้ำเลย กลายเป็นเมืองที่ใช้น้ำมากที่สุด มากกว่าประเทศอื่นๆ ผมไม่รู้ว่านี่เป็นปฏิกริยาต่อการขาดนํ้าในอดีตหรือเปล่า แต่อะไรเล่า ที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องที่ผมเพิ่งเล่าไปเมื่อสักครู่ ส่วนที่น่าสนใจก็คือ เรายังคงเติบโตต่อไป 15% ทุกปี ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยไม่มีน้ำ เป็นเรื่องที่สำคัญ ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์

ในอดีตเมืองเคยถูกลบหายไปจนหมดสิ้น เพราะว่าขาดน้ำ แต่นี่คือประวัติศาสตร์ที่ได้ถูกสร้างขึ้น ในภูมิภาคนี้ เราไม่ได้สร้างแค่ตัวเมืองเท่านั้น แต่เราสร้างเมืองพร้อมกับความฝันและคนที่อยากเป็นนักวิทยาศาสตร์ เป็นแพทย์ สร้างบ้านสวยๆ นำสถาปนิกมาออกแบบบ้านของผม คนเหล่านี้ยืนกรานว่า นี่เป็นพื้นที่ๆอาศัยอยู่ได้ ทั้งๆที่มันไม่ใช่ แต่แน่ละ เราทำได้ด้วยการใช้เทคโนโลยี บราซิล ที่มีปริมาณน้ำฝน 1782 มิลลิลิตร ต่อปี กาตาร์ มี 74 แต่มีอัตราการเจริญเติบโตสูงเท่ากัน คำถามคือ เราทำอย่างไร เราจะเอาตัวรอดกันได้อย่างไร เราไม่มีน้ำ จะยังไงก็ตาม แค่เพราะว่า เรามีเจ้าเครื่องยนต์ขนาดยักษ์มหึมาที่เรียกว่า เครื่องแยกเกลือออกจากน้ำทะเล พลังงาน คือปัจจัยหลักของที่นี่ มันเปลี่ยนแปลงทุกอย่าง มันคือสิ่งที่เราดูดขึ้นมาจากพื้นดิน เราเผามันเป็นตันๆ ค่อนข้างแน่ว่า ทุกคนที่นี่ก็ใช้มันเพื่อมาถึงโดฮา นั่นคือทะเลสาบของเรา ถ้าเราเห็นมันได้ นั่นคือแม่น้ำของเรา นั่นคือสิ่งที่ทำให้ทุกท่านมีน้ำใช้และเพลินกับการใช้นํ้า นี่เป็นเทคโนโลยีที่ดีที่สุดที่ภูมิภาคนี้เคยมี การเปลี่ยนน้ำทะเลเป็นน้ำจืด

แล้วความเสี่ยงคืออะไร?

ทำไมคุณถึงกังวลนัก?

ผมก็จะบอกว่า ลองมาดูข้อเท็จจริงทั้งหลายโดยรวม แน่นอน คุณจะรู้ทันทีว่า ผมต้องกังวล มีความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น ประชากรที่เพิ่มขึ้น แค่ไม่กี่เดือนมานี้ โลกเรามีประชากรเจ็ดพันล้านคนแล้ว และประชากรเหล่านั้นก็ต้องการอาหารด้วย และยังมีการพยากรณ์ว่า เราจะมีประชากรเก้าพันล้านคน ก่อนปี 2050 ดังนั้นประเทศที่ไม่มีน้้า จึงต้องกังวลกับสิ่งที่เกิดขึ้นนอกชายแดนของตน แล้วยังมีเรื่องการเปลี่ยนแปลงลักษณะของอาหารที่เราทานด้วย การยกระดับทางเศรษฐกิจและสังคมที่สูงขึ้น ทำให้พวกเขาเปลี่ยนลักษณะการกิน เราเริ่มทานเนื้อมากขึ้น และอื่นๆอีกมาก

ในทางตรงกันข้าม เรามีผลผลิตทางการเกษตรน้อยลง เพราะการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ และปัจจัยอื่นๆดังนั้น ใครสักคนต้องตระหนักว่า ภาวะวิกฤติกำลังจะเกิด นี่คือสถานการณ์ในกาต้าร์ สำหรับผู้ที่ยังไม่ทราบ เรามีน้ำที่เก็บสำรองไว้พอใช้แค่เพียงสองวัน เรานำเข้าอาหารของเราประมาณ 90% และเราทำการเกษตรน้อยกว่าหนึ่งเปอร์เซ็นต์ของที่ดินของเรา เกษตรกรจำนวนจำกัดที่เรามี ยังถูกผลักออกมา จากการทำการเกษตรของเขา เพราะผลจากนโยบายเปิดการค้าเสรี ทำให้เกิดการแข่งขันอย่างมาก และอื่นๆ

เราจึงเผชิญกับความเสี่ยงด้วย ความเสี่ยงเหล่านี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อความมั่นคงและความยั่งยืนของประเทศนี้ คำถามคือ เรามีทางออกหรือไม่? มีทางออกที่ยั่งยืนหรือไม่? แน่นอนว่ามี

สไลด์นี้ สรุปเอกสารด้านเทคนิคหลายพันหน้า ที่เราได้ทำกันในช่วงสองปีที่ผ่านมา เริ่มจากเรื่องน้ำก่อนนะครับอย่างที่ผมให้คุณดูก่อนหน้านี้ เราทราบดีว่าเราต้องการพลังงาน ดังนั้น ถ้าเราจะต้องใช้พลังงาน จะเป็นพลังงานประเภทไหนเล่า? พลังงานที่ใช้แล้วหมดไป อย่างน้ำมันน่ะหรือ? หรือเราควรจะใช้อย่างอื่น เรามีข้อได้เปรียบที่เทียบเคียงกันได้ ที่จะใช้พลังงานประเภทอื่นหรือไม่ ผมคิดว่า ถึงตอนนี้ผู้ฟังส่วนใหญ่คงทราบดีว่าเรามีแสงแดด 300 วันต่อปี เราจึงจะใช้พลังงานที่ยั่งยืนนี้เพื่อผลิตนํ้าที่เราต้องการ เราอาจจะติดตั้งพลังงานไฟฟ้า 1,800 เมกะวัตต์ จากแสงแดด ในการผลิตน้ำ 3.5 ล้านคิวบิกเมตร นั่นเป็นปริมาณที่มากมาย น้ำเหล่านั้นจะไปสู่เกษตรกร และเกษตรกรจะสามารถรดน้ำพืชผลของเขาได้ แล้วพวกเขาก็จะสามารถผลิตอาหาร สนองความต้องการของสังคม แต่เพื่อจะรักษาเส้นแนวนอนให้ยั่งยืน เพราะว่าโครงการพวกนี้ หรือระบบที่เราจะนำเสนอ เรายังจำเป็นต้องมีการพัฒนาในแนวตั้งด้วย ได้แก่ การดูแลรักษาระบบ การศึกษาระดับสูง การค้นคว้าวิจัยและพัฒนา อุตสาหกรรม เทคโนโลยี เพื่อนำมาผลิตเทคโนโลยี่ที่จะนำมาใช้ และสุดท้ายคือการตลาด แต่สิ่งที่เชื่อมโยงทุกอย่างเข้าด้วยกัน ให้มันเป็นไปได้ ก็คือ นโยบาย และกฎข้อบังคับ ถ้าปราศจากมัน เราก็ไม่สามารถทำอะไรได้ นั่นคือสิ่งที่เราวางแผนที่จะทำ ภายในสองปีนี้ หวังว่าเราควรจะวางแผนเสร็จ และนำแผนไปใช้เป้าหมายของเราคือ เป็นเมืองหนึ่งที่มีอายุพันปี เช่นเดียวกับเมืองต่างๆ เช่น อิสตันบูล, โรม, ลอนดอน, ปารีส, ดามัสกัส, ไคโร เราอายุเพียง 60 ปี แต่เราอยากจะให้มันคงอยู่ตลอดไป ในฐานะเมือง เพื่ออาศัยอยู่อย่างสันติ

ขอบคุณมากครับ (เสียงปรบมือ)

ผู้จัดทำ

Posted: December 11, 2012 in Uncategorized

530845_292362210864124_886148015_n[1]นางสาวทิพวรรณ คงดำ

ชื่อเล่น กล้วย

เกิดวันที่ 12 ธันวาคม 2538

อายุ 17 ปี

บ้านเลขที่ 65/3 ม.4 ต.พ่วงพรมคร อ.เคียนซา จ.สุราษฎร์ธานี 84210

กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธนมศึกษาปีที่ 5/4

โรงเรียนพระแสงวิทยา

ตัวการ์ตูนที่ชอบ มิ้กกี้เมาส์

สีที่ชอบ เหลือง,ฟ้า

อาหารที่ชอบ ส้มตำ,ต้มยำ

ครอบครัว

Posted: December 11, 2012 in Uncategorized

2012-12-18-07-52-38_decoบิดา นายทวี คงดำ อายุ 50 ปี อาชีพ ทำสวน

มารดา นางพรทิพย์ รักษา อายุ 42 ปี อาชีพ ทำสวน

มีพี่น้องร่วมกันทั้งหมด 2 คน

1. นางสาวทิพวรรณ คงดำ อายุ 17 ปี อาชีพ นักเรียน

2. เด็กชายณัฐชัย คงดำ อายุ 14 ปี อาชีพ นักเรียน

Hello world!

Posted: December 11, 2012 in Uncategorized

Welcome to WordPress.com! This is your very first post. Click the Edit link to modify or delete it, or start a new post. If you like, use this post to tell readers why you started this blog and what you plan to do with it.

Happy blogging!